ภาษาเพิร์ล

ภาษาเพิร์ล (Perl programming language)


Perl คือ
   Perl ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language (แปลกันเองตามความเข้าใจนะครับ)

Perl คือภาษาที่ใช้ใน การเขียนโปรแกรม สามารถใช้กับงานต่างๆ ได้หลายรูปแบบ สามารถทำงานได้ดีกับข้อมูล text file ประมวลผลข้อมูลจาก text file และพิมพ์ผลลัพธ์ การประมวลผลนั้นออกมา ผู้ออกแบบภาษา Perl กล่าวไว้ว่า....

Perl เป็นภาษาที่ง่ายกับการเรียนรู้และใช้งาน Perl มีข้อดีหลายๆอย่างของภาษา C, sed, awk และ sh(shell script) ดังนั้นสำหรับ ผู้ที่คุ้นเคยอยู่กับ ภาษาเหล่านั้นอยู่แล้ว ก็ยิ่งทำความเข้าใจกับ Perl ได้ง่ายมากขึ้น รูปแบบของภาษา Perl จะใกล้เคียงกับภาษา C ค่อนข้างมาก Perl ไม่จำกัดขนาดของข้อมูล เหมือนๆกับ utility สำหรับ Unix อื่นๆ สามารถใช้ขนาด ของข้อมูลได้เต็มที่ เท่าที่หน่วยความจำของเครื่องมี Perl สามารถอ่านข้อมูล ในไฟล์ทั้งไฟล์ไว้ในตัวแปร string ตัวเดียวได้ สำหรับการทำงานแบบ Recursion ก็ไม่จำกัดจำนวนรอบที่จะวนทำงาน

Perl มีตัวแปร array ที่เรียกว่า associative array เป็น array ที่ใช้ hash table (จะอธิบายรายละเอียดในบทอื่นๆอีกที) ที่มีการทำงานที่ดี ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ Perl มีเทคนิคที่ดี ในการอ่านข้อมูลขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว สามารถทำงาน ได้ทั้งกับข้อมูลแบบ text และ binary

ภาษา Perl มีความปลอดภัยมากกว่าภาษา C เพราะเป็นภาษาโปรแกรม ในระดับสูง เปิดโอกาสให้เขียนโปรแกรม ติดต่อกับตัวระบบได้ยาก กว่า C จึงมีความปลอดภัยมากกว่า โดยเฉพาะกับระบบ ที่มีผู้ใช้หลายๆคน หรือระบบเปิด เช่น Web Server ที่มีผู้ใช้งาน ระบบมากหน้าหลายตา (ย้ำกันอีกครั้งนะครับ ข้อดีของ Perl ต่างๆที่ผ่านๆมานี้ ผู้ออกแบบภาษา Perl และผู้เขียนโปรแกรม Perl เค้าบอกมานะครับ จะดีจริงอย่างที่คุยหรือไม่ พิสูจน์กันเองนะครับ)

โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Perl จะเรียกว่า Perl script ส่วนคำว่า Perl program จะหมายถึงโปรแกรม perl ที่เป็นตัวแปลภาษา Perl ใช้ในการเรียกใช้งานโปรแกรมภาษา Perl (งงรึเปล่า?)

ตัวแปลภาษา Perl เป็นตัวแปลภาษาแบบ interpreter (ไม่ใช่ compiler) ดังนั้นในขณะที่โปรแกรมภาษา Perl ทำงาน จะใช้กำลังของ CPU มากกว่าโปรแกรมที่เป็นลักษณะของ compiled เช่นโปรแกรมภาษา C แต่มองในอีกมุมหนึ่ง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Perl แทน C ก็ช่วยประหยัดเวลา ในการทำงานของคุณได้มากเช่นกัน

 

จุดประสงค์ในการใช้ Perl
   โดยเริ่มแรก Perl ถูกสร้างขึ้นมาบนระบบปฏิบัติการ Unix เพื่อใช้ในงานทั่วไปเนื่องจากตัวของภาษาเป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องคอมไพล์ จึงสะดวกในการนำไปใช้บนระบบปฏิบัติการอื่นๆ เมื่อภายหลังเกิดหลักการของ CGI ที่เป็นช่องทางให้ผู้ใช้เว็ปสามารถส่งข้อมูลไปให้ Server ได้ จึงได้นำเอาภาษา Perl มาเขียนเป็น CGI
ต้องรู้อะไรก่อนที่จะเรียน Perl
อย่างแรกก็ควรที่จะรู้จัก HTML และ HTTP ไว้ก่อนบ้าง
ถ้าเคยเขียนหรือมีความรู้เกียวับภาษา C,C++ ก็จะดีมากเพราะภาษานี้มีลักษณะการเขียนเหมือนภาษา C มาก
ขอให้มีความตั้งใจค่อยๆอ่านทำความเข้าใจไปที่ละบท
สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะเขียน Perl
เนื่องจาก Perl เป็นภาษาสคริปต์ดั่งนั้นจึงต้องการโปรแกรมที่จะมาแปลความให้มันทำงาน(ก็คล้ายๆกับภาษา C,C++ ที่จะต้องมีตัวCompiler แต่สำหรับPerl จะเรียกว่า Interpreter) ถ้าคุณใช้ระบบ Unix หรือ Linux อยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะมีโปรแกรมนี้ ในตอนลง OS ให้อยู่แล้วเพียงแค่หาว่ามันอยู่รากไหน แต่ถ้าใช้ windows ก็จะต้องไป Download มาที่ aspn.activestate.com และก็ควรจะมี webserver ซึ่งจะเป็น OmniHTTPd หรืออย่างอื่นก็ได้
มาเริ่มเขียน Perl กัน
ในการเขียน perl ถ้าลงโปรแกรม webserver กันแล้วก็ให้เขียนโปรแกรมตามตัวอย่างแล้ว savefile เก็บไว้ให้อยู่ในราก cgi-bin ของ server แต่ถ้าหากยังไม่มีโปรแกรม web server แต่มี perl แล้วสามารถรันโปรแกรมได้โดยพิมพ์ perl filename.pl บน shell หรือบน command prompt ก็ได เพื่อให้สามารถเขียนกันได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเราก็จะมาเริ่มการเขียนโปรแกรมง่ายๆกันก่อนเลย
#กำหนดให้ server เรียก perl interpreter ในรากนั้นมาประมวลผล ใช้เฉพาะบน Unix,Linux
#!/usr/bin/perl
#สั่งพิมพ์บรรทัดนี้ เพื่อผลบนBrowserได้ ถ้าไม่มีก็จะไม่แสดงผลอะไรเลย
print "Content-type:text/html\n\n";
#สั่งให้พิมพ์คำว่าHello, world
print "<pre>Hello,\n world\n </pre>";

ข้อสังเกตุ
การเขียน comment สามารถเขียนได้โดยพิมพ์ # ไว้ข้างหน้า
คำสั่งที่ใช้ในการพิมพคือ print
การพิมพ์ ."\n" เป็นการขึ้นบรรทัดใหม่
เราสามารถที่จะแทรก tag ของ html ในคำสั่ง print ได้เลย



ที่มา : http://www.mindsind.s5.com
ที่มา : http://www.oocities.org

1 ความคิดเห็น: